ความปลอดภัยในการทำงาน หัวใจสำคัญของการทำงานแบบยั่งยืน

by prawit
287 views
1 ความปลอดภัยในการทำงาน หัวใจสำคัญของการทำงานแบบยั่งยืน

ความปลอดภัยในการทำงาน (Occupational health and safety) คือความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย สุขภาพ และพนักงานในองค์กร เพื่อป้องกันและให้ความคุ้มครองพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียม ไม่ให้ได้รับอันตราย อุบัติเหตุ และผลกระทบจากการทำงาน

2 พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

ความปลอดภัยในการทำงานเป็นสิ่งที่ทุกคนควรตระหนักและให้ความสำคัญอยู่เสมอ เนื่องจากอุบัติเหตุมักเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่เว้นแม้กระทั่งในสถานที่ทำงาน ซึ่งหากพนักงานทุกคนประมาทเพียงเล็กน้อย ก็มีโอกาสเป็นอันตรายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินขององค์กรได้ทันที ซึ่งทำให้องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดขอบเขตการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานเป็น 3 หลักที่องค์กรและพนักงานทุกคนต้องปฏิบัติตาม ดังนี้

  1. มีการส่งเสริมด้านสุขภาพของพนักงาน

สนับสนุนด้านการดูแลรักษาสุขภาพที่ดีให้พนักงานได้มีส่วนร่วม เพื่อให้พนักงานได้สุขภาพที่ดีพร้อมทั้งกายและใจ ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยในการทำงานได้ เช่น จัดตั้งโปรแกรมดูแลสุขภาพมอบให้แก่พนักงานภายในองค์กร จัดกิจกรรมส่งเสริมการแข่งกีฬาร่วมสนุกภายในองค์กร เป็นต้น

  1. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัย

ปรับปรุงสถานที่และรวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับทำงานให้มีความทันสมัย ปลอดภัยได้มาตรฐาน ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

  1. ส่งเสริมสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานภายในองค์กร

สนับสนุนในทุก ๆ ด้านที่เกี่ยวข้องการกับความปลอดภัยในการทำงานให้พนักงานทุกคนได้มีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นการจัดฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน หรือมีการออกนโยบายจากผู้บริหารเพื่อแสดงจุดยืนและให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยขององค์กร

3 สาเหตุที่ก่อให้เกิดอันตรายในการทำงาน

สาเหตุที่ก่อให้เกิดอันตรายและส่งผลต่อความปลอดภัยในการทำงาน

  1. สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย

ปัจจัยสำคัญด้านสภาพแวดล้อมปฏิบัติงาน โดยรวมถึงทั้งสถานที่ออกปฏิบัติงานที่เป็นอันตรายและมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การปฏิบัติในพื้นที่สูง พื้นที่ที่เต็มไปด้วยสารเคมีอันตราย และสภาพความพร้อมของอุปกรณ์เครื่องมือในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร เครื่องผลิต เครื่องทุ่นแรง รวมถึงเครื่องจักรสำหรับช่วยในการขนส่ง ที่มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน

  1. วิธีการทำงานที่ไม่ปลอดภัย

บางองค์กรไม่มีกฎระเบียบหรือมาตรการควบคุมด้านความปลอดภัยในการทำงาน ไม่มีกำหนดขั้นตอนการทำงานที่ถูกต้อง ไม่มี WI จนทำให้พนักงานขาดความรู้ และหลักยึดมั่นในขณะออกปฏิบัติจนก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งสาเหตุนี้ถือเป็นจุดบกพร่องขององค์กรที่ควรปรับปรุงเด็ดขาด

  1. ความประมาทจากตัวบุคคล

พนักงานที่ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการทำงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงความของประมาทของพนักงานที่ไม่ระมัดระวังในขณะออกปฏิบัติงาน ชอบทำงานที่เสี่ยงไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ หรือออกปฏิบัติงานในขณะที่สภาพร่างกายและจิตใจไม่พร้อม จนก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่อันตรายถึงชีวิตของตนเอง และเพื่อนร่วมงาน

4 การป้องกันอุบัติเหตุตามหลักการของความปลอดภัยในการทำงาน copy

การป้องกันอุบัติเหตุตามหลักการของความปลอดภัยในการทำงาน

  1. การป้องกันที่แหล่งกำเนิดอันตราย (Source)

วิธีควบคุมความปลอดภัยในการทำงานที่ควรพิจารณาเป็นอันดับแรก ซึ่งเป็นการลดหรือขจัดอันตรายออกไปจากจุดกำเนิดอันตราย เพื่อให้เครื่องจักรหรือกระบวนการทำงานมีความปลอดภัยมากที่สุด

  1. การป้องกันที่ทางผ่าน (Path)

ควบคุมและลดความเป็นอันตรายก่อนถึงตัวพนักงาน โดยการเพิ่มระยะทางหรือสิ่งกีดขวางป้องกันระหว่างอันตรายกับตัวผู้ปฏิบัติงาน

  1. การแก้ไขปัญหาที่ตัวบุคคล (Receivers)

วิธีการควบคุมอันตรายที่ไม่สามารถลดหรือกำจัดอันตรายได้โดยตรง แต่เป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานให้มากขึ้นแก่ตัวผู้ปฏิบัติงาน ด้วยการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตราย

อุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงานเป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นตอนไหน แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนสามารถรับมือได้ คือการเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่พนักงานทุกคนในองค์กรต้องร่วมมือช่วยกันทำให้สถานที่ทำงานกลายเป็นพื้นที่ที่มีความปลอดภัยมากที่สุด เพื่อที่พนักงานทุกคนจะได้ทำงานอย่างมีความสุขและสามารถกลับบ้านไปได้อย่างปลอดภัย

บทความน่าสนใจ

ใบอนุญาตกรมสวัสดิการฯ
ใบอนุญาต อบรม จป.หัวหน้างาน และ จป.บริหาร บริษัท เซฟตี้ เมมเบอร์ จำกัด

คลิกรูปเพื่อขยาย

ได้รับมาตรฐาน ISO 9001

คลิกรูปเพื่อขยาย

หลักสูตรอบรม จป
หลักสูตรอบรม ความปลอดภัย

บริการตรวจรับรอง

บริษัท เซฟตี้ เมมเบอร์

เลขที่ 349 อาคารเอสเจ อินฟินิท วัน บิสซิเนส คอมเพล็กซ์ ชั้น 20 ห้องเลขที่ 2001-2005  ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

อีเมล
โทรศัพท์

คุณ แนน

เพิ่มเพื่อน

©2024 , A Media Company – All Right Reserved. Designed and Developed by safetymember safety member