อบรม จป บริหาร ลดสูงสุด 40%

อบรม จป บริหาร หลักสูตรเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร

          เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยฯหรือจป.ทุกระดับชั้นมีความสำคัญต่อการดูแลความปลอดภัยในสถานประกอบการรวมถึงระดับบริหารด้วยเช่นเดียวกัน แต่ว่าจป.ระดับนี้มีบทบาทหน้าที่แตกต่างจากระดับอื่นอย่างไร หากอบรมจป บริหารต้องเรียนอะไรหรือเสียค่าใช้จ่ายมากน้อยแค่ไหน ทำความเข้าใจจากข้อมูลในบทความกันได้เลย

อบรม จป บริหาร เรียนอะไร

         หากต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยฯระดับบริหาร เนื้อหาหลักที่ต้องเรียนรู้คือการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน บทบาทหน้าที่ของจป.บริหาร การบริหารกฎหมายความปลอดภัยฯ สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยฯอันจะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างถูกต้อง การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การนำแนวคิดการจัดการอาชีวอนามัยฯไปประยุกต์ใช้ในสถถานประกอบการ เป็นต้น โดยจะใช้ระยะเวลาการอบรม 12 ชั่วโมง ซึ่งเนื้อหาที่ได้เรียนรู้นั้นผู้อบรมจะนำไปใช้ได้จริง สามารถนำเสนอแผนงานหรือโครงการความปลอดภัยในการทำงานให้แก่นายจ้าง ช่วยป้องกันความผิดพลาดและอุบัติเหตุที่จะเกิดในสถานประกอบการ นอกจากนี้จป.บริหารจะต้องควบคุมดูแลการทำงานของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทั้งหมดทุกระดับได้

อบรม จป บริหาร ค่าใช้จ่าย

         ค่าใช้จ่ายในการหลักสูตรอบรม จป บริหารนั้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เลือกอบรมและลักษณะของหลักสูตร นอกจากนี้หากเลือกอบรมออนไลน์ก็จะมีผลต่อค่าใช้จ่ายด้วยเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามหากอบรมแบบบุคคลทั่วไป ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 1,100-2,000 บาท ส่วนการอบรมแบบ In House จะมีค่าใช้จ่ายราว 15,000-20,000 บาท แต่ถ้าอบรมออนไลน์ค่าใช้จ่ายจะลดลงสูงสุดถึง 60% (ขึ้นอยู่กับแต่ละหน่วยงาน) 

อบรม จป บริหาร ที่ไหนดี

       สถาบันที่เปิดอบรม จป บริหารนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายแห่ง แต่ปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบการเลือกคือต้องเป็นสถาบันที่ได้รับอนุญาตจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแล้ว มีการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ มีหลักสูตรให้เลือกอบรมหลากหลาย สามารอบรมออนไลน์ได้ มีใบรับรองหลังอบรมเสร็จสิ้น วิทยากรมีความเชี่ยวชาญและคิดค่าใช้จ่ายอย่างหมาะสม สำหรับบุคคลใดหรือองค์กรใดต้องการส่งลูกจ้างเข้าไปอบรมก็สามารพิจารณาเลือกสถาบันเปิดอบรมได้ตามแนวทางข้างต้นกันได้เลย

          เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยฯระดับบริหารก็มีความสำคัญต่อสถานประกอบการและนายจ้างไปไม่น้อยกว่าเจ้าหน้าที่ระดับอื่น เพราะว่ามีหน้าที่กำกับและดูแลจป.ทุกระดับที่อยู่ในบังคับบัญชาของจป.บริหาร ดังนั้นหากกิจการใดเข้าข่ายที่จะต้องมีจป.บริหารตามกฎหมาย นายจ้างก็ต้องแต่งตั้งลูกจ้างระดับบริหารทุกคนให้เป็นจป.บริหารภายใน 180 วันหลังจากลูกจ้างได้รับตำแหน่งระดับบริหาร ซึ่งจะเป็นจป.ระดับนี้ได้ก็ต้องผ่านการอบรม จป บริหารหรือเคยเป็นจป.บริหารตามประกาศกระทรวง พ.ศ. 2540 มาก่อนแล้วเท่านั้น

 

คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม จป บริหาร กับ Safetymember

1.เป็นหัวหน้างาน เป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างานของหน่วยงาน

2.นายจ้างยินยอม ได้รับการยินยอมจากนายจ้างให้เข้ารับการอบรม

ขั้นตอนเข้ารับการอบรม จป บริหารออนไลน์

  1. เตรียมบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือรับรองที่ราชการออกให้
  2. เปิดกล้องตลอดการอบรมเพื่อยืนยันตัวตน
  3. ลงทะเบียนเช้า 8.00 – 8.30 และ บ่าย 12.30 – 13.00
  4. USERNAME ใน Zoom ให้เปลี่ยนเป็นชื่อ-นามสกุลให้ใช้ชื่อ-นามสกุลจริงตามบัตรประจำตัวประชาชน
  5. ทำแบบทดสอบก่อนการอบรม
  6. เข้ารับการอบรมระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด
  7. ระหว่างการอบรมจะมีการสุ่มเช็คชื่อ โดยการจับภาพหน้าจอ หากท่านไม่อยู่ ขอตัดสิทธิ์ในการแจกวุฒิบัตร

8.ผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรมจะต้องเป็นผู้ที่มีรายชื่อในใบลงทะเบียนเท่านั้น

9.ทำการทดสอบหลังการอบรมผ่านเกณฑ์การทดสอบ 60% ขึ้นไป หากไม่ผ่านเกณฑ์จะไม่ได้รับวุฒิบัตร

อบรม จป บริหารกับ Safetymember รับส่วนลดสูงสุด 40%

เราได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อีกทั้งยังได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าชั้นนำระดับประเทศมากกว่า 1000+ บริษัทที่ทำการฝึกอบรม จป บริหารกับเราอย่างต่อเนื่องด้วยหลักสูตรการเรียนที่ได้มาตรฐานและภาคปฏิบัตินักเรียนได้ฝึกกับอุปกรณ์ของจริงทำให้เกิดทักษะและสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องปลอดภัย อีกทั้งเรายังได้รับการรับรองมาตรฐานด้านคุณภาพ ISO 9001 เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าทุกกระบวนการบริการของเรานั้นสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอนอีกด้วย

กิจการที่ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยฯ

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ใช้บังคับแก่กิจการหรือสถานประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้

(1) การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี

(2) การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่ง ดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสีย หรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กำเนิด แปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น

(3) การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง

(4) การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า

(5) สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ

(6) โรงแรม

(7) ห้างสรรพสินค้า

(8) สถานพยาบาล

(9) สถาบันทางการเงิน

(10) สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ

(11) สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา

(12) สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ

(13) สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม (๑) ถึง (๑๒)

(14) กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด