อบรม จป หัวหน้างาน ลด 40%
หลักสูตรตามกฎหมายใหม่ 2566
อบรม จป หัวหน้างาน เรียนอะไร และ มีค่าใช้จ่ายเท่าไร
กฎกระทรวงได้กำหนดมาตรฐานการบริหารการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 โดยกำหนดในสถานประกอบการบางแห่งที่มีเงื่อนไขครบถ้วนจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยฯ หรือจป แต่จะต้องมีจป ระดับใดและมีจำนวนกี่คนนั้นก็ขึ้นอยู่กับประเภทของกิจการและจำนวนลูกจ้างภายในกิจการ แต่ไม่ว่าจะเป็นจป ระดับใดก็ตามจะทำงานได้จำเป็นต้องได้รับการอบรมเสียก่อน สำหรับระดับหัวหน้างานก็ต้องอบรม จป หัวหน้างานด้วยเช่นเดียวกัน
จป หัวหน้างานเรียนอะไรบ้าง
เนื้อหาการอบรม จป หัวหน้างานที่ต้องเรียนรู้มีอยู่ด้วยกันหลายหมวด ไม่ว่าจะเป็นบทบาทหน้าที่ของจป ระดับหัวหน้างาน ความปลอดภัยในการทำงาน กฎหมายความปลอดภัยฯ การค้นหาอันตรายจากการทำงาน การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย การสอบสวนและรายงานอุบัติเหตุ การป้องกันและควบคุมอันตราย การวิเคราะห์หาอันตรายต่างๆจากการทำงาน ซึ่งจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยเหล่านี้สามารถค้นหาอันตรายและหามาตรการป้องกันได้อย่างเป็นมืออาชีพ
กิจการใดที่ตรงตามที่กฎหมายกำหนดมีความจำเป็นจะต้องแต่งตั้งลูกจ้างระดับหัวหน้างานทุกคนเป็นจป หัวหน้างาน ภายใน 180 วันหลังรับตำแหน่งเป็นหัวหน้างาน โดยจะต้องเข้าอบรม จป หัวหน้างาน (12 ชั่วโมง) หรือเคยเป็นจป หัวหน้างานตามประกาศกระทรวง พ.ศ. 2540 มาก่อน ส่วนคุณสมบัติอื่นๆอย่างอายุ การศึกษาหรือเพศนั้นไม่ได้กำหนด หากไม่แต่งตั้งตามเวลาที่กำหนดจะถือว่านายจ้างมีความผิดตามกฎหมาย โดยอาจจะจำคุก ถูกปรับหรือทั้งจำทั้งปรับก็ได้เช่นกัน

อบรม จป หัวหน้างาน อบรมออนไลน์ได้หรือไม่
การอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยฯ ระดับหัวหน้างานนั้นสามารถอบรมออนไลน์ได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็อบรมได้หมด โดยส่วนใหญ่จะอบรมผ่านทาง Zoom Application ซึ่งมีทั้งรูปแบบ In House และ Public ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นองค์กรส่งไปอบรมหรือจะเป็นบุคคลทั่วไปก็สามารถเรียนได้เช่นเดียวกัน ที่สำคัญคือการอบรมออนไลน์นั้นมักมีค่าใช้จ่ายถูกลงมาก หลายหน่วยงานลดค่าอบรมมากถึง 60% กันเลยทีเดียว
อบรม จป หัวหน้างาน ค่าใช้จ่ายเท่าไร
ค่าใช้จ่ายในการอบรม จป หัวหน้างานนั้นไม่แพงเหมือนหลักสูตรจป ระดับอื่น โดยทั่วไปจะมีราคาประมาณ 2,000 บาทสำหรับบุคคลทั่วไป แต่ถ้าเป็นหลักสูตร In house จะมีค่าใช้จ่ายราว 20,000 บาทโดยประมาณ
สำหรับองค์กรหรือบุคคลทั่วไปคนไหนต้องการอบรม จป หัวหน้างาน ก็หวังว่าข้อมูลในบทความบทนี้จะช่วยเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจได้เป็นอย่างดี เพราะการประกอบอาชีพเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยฯระดับหัวหน้างานนั้นไม่มีเงื่อนไขข้อบังคับเหมือนระดับอื่น ทำให้การอบรมหลักสูตรนี้จะช่วยเปิดโอกาสในการทำงานสำหรับบุคคลทั่วไปได้

จป หัวหน้างาน ยุคใหม่
เรียนรู้เทคนิคการเป็น จป หัวหน้างานอย่างมืออาชีพ พร้อมเทคนิคการจัดการด้านความปลอดภัยในองค์กรให้ถูกต้องตามกฎหมาย

หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
แนวทางการบริหารจัดการความปลอดภัยในหับทีมงาน ลูกน้องให้เกิดความปลอดภัย
1. กฎหมายความปลอดภัย
เรียนกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
2. การประเมินความเสี่ยง
ฝึกปฏิบัติการประเมินความเสี่ยงตามกฎหมาย และ วิเคราะห์อันตรายจากการทำงาน
3. มาตรการป้องกันอุบัติเหตุ
จัดทำแนวทางการป้องกันอันตรายต่างๆในกระบวนการผลิตให้เกิดความปลอดภัยในทุกกิจกรรม
4. กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย
หลักการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมด้านความปลอดภัยในการทำงานแก่พนักงานให้มีส่วนร่วม
หลักการและเหตุผล อบรม จป หัวหน้างาน
สถิติการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม ปี ๒๕๖๐ พบว่า มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดอุบัติเหตุ จำนวน ๑๔๕ ครั้ง แบ่งได้เป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากอัคคีภัย จำนวน ๑๐๕ ครั้ง, การระเบิด จำนวน ๕ ครั้ง, สารเคมีรั่วไหล จำนวน ๑๕ ครั้ง, อุบัติเหตุเกี่ยวกับเครื่องจักร จำนวน ๑๔ ครั้งและ อื่นๆ จำนวน ๘ ครั้ง (กรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยกองส่งเสริมเทคโนโลยีความปลอดภัยโรงงาน, ๒๕๖๐) จากสถิติข้างต้นนี้กิจการหรือสถานประกอบกิจการ สามารถดำเนินการบริหารจัดการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ได้โดยนำหลักการหรือแนวทางมาตรฐานกฎหมายต่างๆเข้ามาดำเนินการ อาทิเช่น
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙ บังคับให้กิจการหรือสถานประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้
- การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี
- การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่ง ดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสีย หรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กำเนิดแปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น
- การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง
- การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า
- สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
- โรงแรม
- ห้างสรรพสินค้า
- สถานพยาบาล
- สถาบันทางการเงิน
- สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ
- สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา
- สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ
- สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม (๑) ถึง (๑๒)
- กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด
แต่งตั้งลูกจ้างระดับหัวหน้างาน เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน พิจารณาตามประเภทสถานประกอบกิจการและจำนวนพนักงงานคือ สถานประกอบกิจการตาม ข้อ ๑ (๑) ถึง (๕) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่สองคนขึ้นไป และสถานประกอบกิจการตามข้อ ๑ (๖) ถึง (๑๔) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ยี่สิบคนขึ้นไป เพื่อปฏิบัติหน้าที่ ดังต่อไปนี้
- กำกับ ดูแล ให้ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ ๓
- วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้น โดยอาจร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ
- สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
- ตรวจสอบสภาพการทำงาน เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน
- กำกับ ดูแล การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
- รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ อันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้าง และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัยให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยทันทีที่เกิดเหตุ
- ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า
- ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
- ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารมอบหมาย
ดังนั้นเพื่อดำเนินการให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานจะต้องมีคุณสมบัติเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ผ่านการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
- เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
วัตถุประสงค์การอบรม จป หัวหน้างาน
- เพื่อให้กิจการหรือสถานประกอบกิจการปฏิบัติได้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในบาทบาทหน้าที่ของตนตามที่กฎหมายกำหนด
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถค้นหาอันตราย และพิจารณาหาแนวทางวิธีการควบคุม ป้องกันอันตรายได้อย่างเหมาะสม
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม จป หัวหน้างาน
จำนวนผู้เข้าอบรม/รุ่น จำนวน 1-60 ท่าน/รุ่น
วิธีการฝึกอบรม บรรยาย / กรณีศึกษา / ฝึกภาคปฏิบัติวิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล
– ระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม 100% จำนวน 12 ชั่วโมง
– แบบทดสอบก่อน และหลังการฝึกอบรมสิ่งที่จะได้รับหลังการอบรม วุฒิบัตรผ่านการอบรม
หลักสูตรอบรม จป หัวหน้างาน Update 2566
โดยที่ กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ ข้อ ๔๓ กำหนดให้นายจ้างหรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมดำเนินการฝึกอบรมเพื่อให้ลูกจ้างมีคุณสมบัติ เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานและระดับบริหาร ทั้งนี้ หลักสูตร การฝึกอบรม คุณสมบัติของวิทยากร และการดำเนินการฝึกอบรมของนายจ้างหรือผู้ให้บริการ ด้านการฝึกอบรมให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔๓ วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมวด ๑ หลักสูตรการฝึกอบรม
ข้อ ๒ หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระยะเวลา การฝึกอบรมสิบสองชั่วโมง ประกอบด้วย ๔ หมวดวิชา ดังต่อไปนี้
(๑) หมวดวิชาที่ ๑ ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน และบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระยะเวลา การฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(ข) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
(๒) หมวดวิชาที่ ๒ กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกระทรวงแรงงาน
(ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน และการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ
(๓) หมวดวิชาที่ ๓ การค้นหาอันตรายจากการทำงานและการจัดทำคู่มือว่าด้วย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) การตรวจความปลอดภัย
(ข) การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
(ค) การสอบสวน การวิเคราะห์ และการรายงานอุบัติเหตุ
(ง) การจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของหน่วยงาน
(๔) หมวดวิชาที่ ๔ การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรม สามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร
(ข) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า
(ค) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ
(ง) การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ
(จ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(ฉ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี
(ช) การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์
(ซ) การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง
(ฌ) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
** สิ่งที่ได้รับหลังจบการอบรม : วุฒิบัตร
สอบถามเพิ่มเติม
โทร. (064) 958 7451
ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าชั้นนำ









Contact us
Safety Member
อบรม จป หัวหน้างาน