อบรมที่อับอากาศ 4 ผู้ (แบบอินเฮ้าส์)
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการและหลักสตูรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ
บริการทีมงานวิทยากร พร้อมอุปกรณ์การฝึกครบชุด
อบรมที่อับอากาศ หลักสูตร การทำงานในสถานที่อับอาอกาศ 4 ผู้ตามกฎหมายใหม่ (แบบอินเฮ้าส์)
เซฟตี้เมมเบอร์ให้บริการทีมอาจารย์สอนหลักสูตร การทำงานในสถานที่อับอากาศ หลักสูตรอินเฮ้าส์ จัดโดยนายจ้าง พร้อม อุปกรณ์การฝึกภาคปฏิบัติ
Confined Space training

ผู้อนุญาต
Authorize
ผู้ควบคุม
supervisor
ผู้ช่วยเหลือ
rescuer
ผู้ปฏิบัติงาน
workerข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการอบรมที่อับอากาศ 4 ผู้ (แบบอินเฮ้าส์)
ความสำคัญของการอบรมที่อับอากาศ
‘พื้นที่อับอากาศ’ คือพื้นที่ที่มีทางเข้า-ออกจำกัด สภาพแวดล้อมภายในบริเวณมีความอับอากาศ การระบายอากาศตามธรรมชาติไม่ถูกสุขลักษณะ และมีสภาพที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ อาทิเช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา เป็นต้น
โดยจากสถิติพบว่าพื้นที่อับอากาศนั้นถือเป็นหนึ่งในพื้นที่เสี่ยงของสถานที่ทำงาน และบ่อยครั้งก็เป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากการปฏิบัติงาน เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานและนายจ้าง (เจ้าของกิจการ) ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานในพื้นที่อับอากาศอย่างถูกต้อง รวมถึงไม่มีมาตรการป้องกันที่ดีและเหมาะสมจนนำมาสู่อุบัติเหตุที่ร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้
ทั้งนี้ ตามประกาศของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2564 เป็นต้นมา ได้กำหนดหลักสูตรอบรมการทำงานในที่อับอากาศไว้ 6 หลักสูตร ดังนี้
หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต (ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ)
- หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมงาน (ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ)
- หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ช่วยเหลือ (ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ)
- หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ)
- หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ)
- หลักสูตรการฝึกอบรมทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ
อบรมที่อับอากาศ 4 ผู้
‘อบรมที่อับอากาศ’ หรือที่เรียกให้เข้าใจว่า “อบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ” เป็นหลักสูตรการอบรมที่ทางกระทรวงแรงงานได้กำหนดไว้ เพื่อให้สถานประกอบกิจการที่มีสถานที่อับอากาศจะต้องทำการจัดอบรมแก่พนักงานทุกคนที่ทำงานในพื้นที่อับอากาศ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัยเสียก่อน จึงจะสามารถอนุญาตให้เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศได้
อันตรายของการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ
หากดูจากคำจำกัดความถึงสถานที่ที่เข้าข่ายว่าเป็นพื้นที่อับอากาศ เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นพื้นที่ที่ผู้ปฏิบัติงานต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและชำนาญ เพราะมึความอันตรายและเสี่ยงต่อการอุบัติเหตุได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น
- การขาดออกซิเจน
- การเกิดไฟ และการระเบิดของแก๊สที่ติดไฟได้
- การสูดดมแก๊สพิษ เช่น คาร์บอนมอนนอกไซด์ (Carbon monoxide), ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulfide), ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen dioxide)
- ทัศนวิสัยในการมองเห็นลดลง เพราะแสงสว่างไม่เพียงพอ หรือมีฝุ่นละอองบดบัง
- อันตรายต่อระบบโสตประสาท เนื่องจากมีเสียงดัง
- อุณหภูมิสูงจนอาจทำให้เกิดอาการของโรคลมแดดหรือภาวะฉุกเฉินจากความร้อน (Heatstroke)
- ขาดความคล่องตัวในการหลบหนีออกจากพื้นที่เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน
การอบรมที่อับอากาศเหมาะเหมาะกับบุคคลหรือองค์กรใดบ้าง
การอบรมหลักสูตรนี้จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนายจ้างและลูกจ้างที่ต้องปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่อับอากาศ โดยจุดมุ่งหมายของการอบรมนอกจากจะให้ความรู้และเทคนิคการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้และฝึกฝนการใช้อุปกรณ์กู้ภัยชนิดต่างๆ เพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างปลอดภัย โดยเฉพาะการใช้อุปกรณ์ตรวจวัดอากาศ สารไวไฟ และสารพิษ ซึ่งจะต้องเรียนรู้การใช้อุปกรณ์อย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็น เทคนิคการตรวจวัดปริมาณอากาศ เทคนิคการตรวจวัดแก๊สพิษ เทคนิคการตรวจวัดสารไวไฟ เทคนิคการตรวจวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ รวมถึงอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้สำหรับการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ คือ ไตรพอดสามขา (Tripod) ที่ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องเรียนรู้การใช้งาน การประกอบรอกช่วยชีวิต ฝึกติดตั้งและใช้งานทุกขั้นตอนให้ชำนาญ
- 50% จัดโปรโมชั่นลดราคา (แบบอินเฮ้าส์)
จัดอบรมการทำงานที่อับอากาศ 4 ผู้ ทีมวิทยากร พร้อม อุปกรณ์การสอนครบชุด

อบรม อับอากาศ แบบอินเฮ้าส์
บริการจัดอบรมที่อับอากาศ แบบอินเฮ้าส์เทรนนิ่ง (นายจ้างจัดอบรมเอง)
ผู้อนุญาต
ผู้อนุญาต ในการทำงานอับอากาศ
ผู้ควบคุม
ผู้ควบคุม ในการทำงานอับอากาศ
ผู้ช่วยเหลือ
ผู้ช่วยเหลือ ในการทำงานอับอากาศ
ผู้ปฏิบัติงาน
ผู้ปฏิบัติงาน ในการทำงานอับอากาศ

อุปกรณ์ที่ใช้สอนหลักสูตรการทำงานที่อับอากาศ 4 ผู้ ครบเซ็ท (แบบอินเฮ้าส์)
อุปกรณ์ | มีมาตรฐานรับรอง | ฝึกปฏิบัติจริง |
เครื่องวัดอากาศ | Yes | Yes |
อุปกรณ์กู้ภัย | Yes | Yes |
เครื่องช่วยหายใจ SCBA | Yes | Yes |
อื่นๆ ตามกฎหมาย | Yes | Yes |
การอบรมที่อับอากาศ (Confine Space)ภาคทฤษฎี

1.1) กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ
1.2) ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ
1.3) การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่งาน และการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ
1.4) วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย
1.5) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศและอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิต
1.6) ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงานในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย
1.7) บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
1.8) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ
1.9) เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ
1.10) การสั่งให้หยุดทำงานชั่วคราว
1.11) การวางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานในที่อับอากาศ
1.12) อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกภัย
1.13) การช่วยเหลือและช่วยชีวิต
1.14) การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น
1.15) เทคนิคในการจัดทำแผนปฏิบัติงานและการป้องกันอันตราย
1.16) การควบคุมดูแลการใช้เครื่องป้องกันและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
อบรมที่อับอากาศ (Confine Space) ภาคปฏิบัติ

2.1) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ
2.2) เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ
2.3) เทคนิคการตรวจสภาพพื้นที่และงาน ก่อนตัดสินใจอนุญาต
2.4) เทคนิคในการควบคุมการทำงานในที่อับอากาศ
2.5) การอนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการสื่อสาร
2.6) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ
2.7) การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ
2.8) การช่วยเหลือและช่วยชีวิต
2.9) การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น
2.10) สถานการณ์การปฏิบัติงานในที่อับอากาศในสภาพปกติ และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าชั้นนำ









Contact us
Safety Member
อบรมที่อับอากาศ อินเฮ้าส์