หลักสูตร ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าสำหรับลูกจ้าง ซึ่งปฎิบัติงานกับไฟฟ้า
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2564
อบรมแบบ อินเฮ้าส์
หลักสูตร 3 ชม.
จากราคาปกติ : 18,000
เหลือราคา: 13,500 บาท
1 รุ่น: ไม่เกิน 30 ท่าน
หมดเขต 30 กันยายน 2566
*มอบวุฒิบัตรให้ผู้ผ่านการอบรมทุกคน
** มีบริการให้เช่าสถานที่อบรม ราคาถูก ลด 50%





สอนโดย วิทยากร ที่มีคุณสมบัติตามกฎหมาย
ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ให้บริการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า
เซฟตี้เมมเบอร์ ได้รับอนุญาตหน่วยฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
หลักสูตรอบรมไฟฟ้าตามกฎหมายกำหนด
หลักการและเหตุผล
จากพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 กำหนดให้หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ที่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมาย ต้องดำเนินการป้องกันและวางแผนเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558 ข้อ ๔ ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมให้กับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าให้มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่จําเป็นในการทํางานอย่างปลอดภัยตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้าสําหรับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า 2558 ข้อ ๓ การฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้าให้กับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงาน เกี่ยวกับไฟฟ้า ต้องมีระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าสามชั่วโมง และอย่างน้อยต้องมีหัวข้อวิชา ดังต่อไปนี้
(๑) กฎหมายความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า
(๒) สาเหตุและการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า และอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
(๓) การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ในกรณีที่มีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าที่มีความเสี่ยงจากลักษณะงานอื่นรวมอยู่ด้วย เช่น การทํางานในที่สูง การทํางานในบริเวณที่อาจเป็นอันตราย นายจ้างอาจจัดให้มีระยะเวลา การฝึกอบรมและหัวข้อวิชาที่เกี่ยวกับความเสี่ยงดังกล่าวเพิ่มเติมจากหัวข้อวิชาที่กําหนดไว้
ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด กิจการหรือสถานประกอบกิจการควรดำเนินการจัดฝึกอบรม หลักสูตร ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้าสําหรับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า ให้กับลูกจ้างที่ปฏิบัติงานกับไฟฟ้า ทั้งนี้เพื่อให้ ลูกจ้างรับทราบและปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อปฏิบัติในการทำงานต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
วัตถุประสงค์การอบรมไฟฟ้า
1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานกับไฟฟ้า
2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และสามารถช่วยเหลือปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐานแก่ผู้ที่ประสบอันตรายจากไฟฟ้าได้
3) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจถึงอันตรายที่เกิดจากการปฏิบัติงานกับไฟฟ้า
4) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าและสามารถเลือกใช้งานอุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
5) เพื่อให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด
คุณสมบัติผู้เข้าอบรมไฟฟ้า
พนักงานที่ต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า หรือผู้ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าอบรม/รุ่น จำนวน 1-30 ท่าน/รุ่น
วิธีการฝึกอบรม บรรยาย / กรณีศึกษา / ฝึกภาคปฏิบัติ
วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล – ระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม 100% จำนวน 6 ชั่วโมง – แบบทดสอบก่อน และหลังการฝึกอบรม
สิ่งที่จะได้รับหลังการอบรม วุฒิบัตรผ่านการอบรม
การอบรมไฟฟ้าเป็นการลงทุนที่มีผลต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการทำงาน นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมพัฒนาทักษะและความรู้ของบุคลากรที่มีผลดีต่อองค์กรในระยะยาว.
การป้องกันอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากในชีวิตประจำวัน เนื่องจากการใช้งานไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งการเข้าใจความรู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าและการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างถูกต้องเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. การเข้าใจระบบไฟฟ้า
การทราบถึงหลักการทำงานของระบบไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงความแตกต่างระหว่างกระแสไฟฟ้าได้แรงดันสูงและแรงดันต่ำ การทราบถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการใช้งานระบบไฟฟ้าช่วยให้ผู้ใช้สามารถป้องกันตัวเองได้
2. การใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างถูกต้อง
การใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องทำตามคำแนะนำจากผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด เช่น การเสียบปลั๊กเข้ากับตัวเสียบปลั๊กได้ถูกต้อง การเปิด-ปิดสวิตช์ได้ถูกต้อง การใช้สายส่งไฟที่มีคุณภาพและไม่มีชำรุด เป็นต้น
3. การตรวจสอบอุปกรณ์และสายไฟ
อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชิ้นควรได้รับการตรวจสอบให้มีสภาพดีและไม่มีความเสียหาย สายไฟที่มีฉนวนหักหรือชำรุดควรถูกเปลี่ยนแปลงเพื่อป้องกันการช็อตไฟฟ้า
4. การป้องกันการนำไฟฟ้าเข้าสู่น้ำ
การนำไฟฟ้าเข้าสู่น้ำอาจทำให้เกิดการช็อตไฟฟ้าในน้ำ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าในสภาพที่มีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่
5. การตรวจสอบหลอดไฟ
หลอดไฟที่เสียหรือชำรุดควรถูกเปลี่ยนทันที เพื่อป้องกันการไฟไหม้
6. การเก็บรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างถูกต้อง
การเก็บรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ได้รับการคุ้มครองจากรายละเอียดอันเป็นธรรม รวมถึงการเก็บรักษาในที่ที่ไม่มีน้ำหนักของสิ่งของที่มากเกิน
คำถามที่พบบ่อย
องค์กรไหนบ้างที่ต้องอบรม
- โรงงานอุตสาหกรรม
- บริษัทผู้รับเหมา
- นายจ้างที่มีลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ
ใบเซอร์มีวันหมดอายุหรือไม่
ไม่มีวันหมดอายุจนกว่าพนักงานจะลาออกจากองค์กร
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า สําหรับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า การจัดฝึกอบรมให้กับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าเข้ารับการฝึกอบรมความปลอดภัย ในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า
ต้องอบรมภายในกี่วัน
นายจ้างจะต้องจัดให้ลูกจ้างได้รับการอบรมก่อนเริ่มทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า
1 รุ่นจัดอบรมได้กี่คน
จัดให้ห้องฝึกอบรมหนึ่งห้องมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินหกสิบคน และมีวิทยากร อย่างน้อยหนึ่งคน
สิ่งที่จะได้รับหลังจบอบรม
ผู้เข้าอบรมจะได้รับใบเซอร์รับรองผ่านการฝึกอบรมอย่างเป็นทางการ
กฎหมายบังคับแต่ตั้งเมื่อไร
๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘
บทลงโทษสำหรับนายจ้าง
สมัครอบรมบุคคลทั่วไป
หลักสูตรการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า
- มอบใบเซอร์ให้ผ่านการฝึกอบรม
- ราคา : 1,800 / ท่าน
- สถานที่อบรม : (ห้าง ที ยู โดม พลาซ่า ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต) ชั้น 3
ติดต่อ/บริการช่วยเหลือ