ผู้เฝ้าระวังไฟ (Fire Watch Man) และบทบาทสำคัญในการป้องกันไฟไหม้

by prawit
637 views
1 ผู้เฝ้าระวังไฟ 1000x667

หนึ่งในอุบัติเหตุภายในโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบกิจการต่าง ๆ ที่เรามักจะได้ยินอยู่บ่อย ๆ นั่นก็คือ อุบัติเหตุจากอัคคีภัยหรือไฟไหม้ ซึ่งมักจะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อทรัพย์สิน สุขภาพ หรือแม้กระทั่งรุนแรงถึงขั้นสูญเสียชีวิต ดังนั้นแล้ว ในอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบกิจการใดก็ตามที่มีลักษณะงานที่เสี่ยงต่อการเกิดประกายไฟและความร้อน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้เฝ้าระวังไฟ หรือ Fire  Watch Man

ผู้เฝ้าระวังไฟมีหน้าที่ตรวจสอบสถานที่ทำงาน ที่มีความเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัย

ผู้เฝ้าระวังไฟ (Fire  Watch Man) คือใคร ?

ผู้เฝ้าระวังไฟ (Fire  Watch Man) ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าคือผู้ที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังและตรวจสอบสถานที่ทำงานที่มีความเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัย เช่น งานตัด เชื่อม เจีย เจาะ ขุด ขัด และเผา รวมถึงการใช้เครื่องกลต่าง ๆ เพราะงานเหล่านี้อาจทำให้มีประกายไฟและความร้อน ที่สามารถลุกลามและก่อให้เกิดอัคคีภัยได้ ผู้เฝ้าระวังไฟจึงถือเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ และเมื่อได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เฝ้าระวังไฟแล้ว ก็จะต้องทำหน้าที่ดังกล่าวเพียงอย่างเดียวในช่วงสถานการณ์การทำงานที่มีความเสี่ยงในการเกิดประกายไฟและความร้อน ตั้งแต่เริ่มต้นจนแล้วเสร็จงาน

บุคคลที่จะรับหน้าที่เป็นผู้เฝ้าระวังไฟนั้นจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการวางแผนและป้องกันการเกิดเหตุไฟไหม้ รวมทั้งสามารถจัดการสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงทีหากมีไฟไหม้เกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องผ่านหลักสูตรการอบรมผู้เฝ้าระวังไฟ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในบทบาทของผู้เฝ้าระวังไฟ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งเป็นหน้าที่ของโรงงานหรือสถานประกอบกิจการที่ต้องจัดให้มีการอบรมหลักสูตรผู้เฝ้าระวังไฟให้กับพนักงาน

ผู้เฝ้าระวังไฟต้องผ่านการอบรมการใช้งาน อุปกรณ์ดับเพลิงและสามารถใช้งานได้

หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้เฝ้าระวังไฟ

บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เฝ้าระวังไฟโดยสังเขป มีดังนี้

  1. ผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้เฝ้าระวังไฟ หรือ Fire Watch Man จะต้องได้รับการอบรมเพื่อให้เข้าใจอันตรายที่แท้จริงของสถานที่ทำงานและงานที่ก่อให้เกิดประกายไฟและความร้อน หรืองาน Hot Work
  2. ผู้เฝ้าระวังไฟจะต้องมีความมั่นใจว่ารักษาสภาพการณ์ที่ปลอดภัยในระหว่างที่ดำเนินงาน Hot Work
  3. ผู้เฝ้าระวังไฟได้รับอนุญาตให้หยุดการทำงาน เมื่อเกิดสภาพการทำงาน ที่ไม่ปลอดภัย
  4. จะต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิงที่พร้อมสำหรับใช้งานหากเกิดเหตุฉุกเฉิน และผู้เฝ้าระวังไฟต้องผ่านการอบรมการใช้งานอุปกรณ์ดับเพลิงและสามารถใช้งานได้
  5. ผู้เฝ้าระวังไฟควรจะต้องทำความคุ้นเคยกับสถานที่และวิธีปฏิบัติเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณกรณีเกิดเหตุไฟไหม้
  6. ต้องคอยเฝ้าระวังการเกิดไฟไหม้ในพื้นที่ทั้งหมดของงานที่ก่อให้เกิดประกายไฟและความร้อน หรืองาน Hot Work
  7. พยายามดับเพลิงภายใต้ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ดับเพลิงนั้น ๆ
  8. ผู้เฝ้าระวังไฟจะต้องมีวิธีการสื่อสารกับแต่ละส่วนงาน และติดต่อผู้รับผิดชอบในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
  9. ทำหน้าที่กดสัญญาณแจ้งเหตุไฟไหม้ทันที กรณีเพลิงลุกไหม้จนเกินความสามารถของอุปกรณ์ดับเพลิงที่มี
  10. ผู้เฝ้าระวังไฟต้องมีวิธีการในการอพยพออกจากอาคาร เช่น แตรหรือดึงเพื่อเปิดใช้งานสัญญาณเตือนไฟไหม้ในอาคาร
  11. ปฏิบัติหน้าที่อื่นเท่าที่จำเป็น แต่ต้องไม่ละทิ้งในขณะที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังไฟ

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานประกอบกิจการ

องค์กรใดบ้างที่จำเป็นต้องมีผู้เฝ้าระวังไฟ

ตามที่กล่าวไปแล้วในข้างต้นว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบกิจการคือ อุบัติเหตุจากอัคคีภัยหรือไฟไหม้ ซึ่งโรงงานหรือสถานประกอบกิจการใดก็ตามที่มีลักษณะงานที่ก่อให้เกิดประกายไฟ และความร้อน หรืองาน Hot work จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้เฝ้าระวังไฟ หรือ Fire watch man ตลอดจนอุตสาหกรรมด้านน้ำมัน และก๊าซ ก็นับว่าจะต้องมีผู้เฝ้าระวังไฟ เพื่อคอยดูแลและป้องกันการเกิดไฟไหม้ ลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ทำงาน

บริการแนะนำ

บทความน่าสนใจ

ใบอนุญาตกรมสวัสดิการฯ
ใบอนุญาต อบรม จป.หัวหน้างาน และ จป.บริหาร บริษัท เซฟตี้ เมมเบอร์ จำกัด

คลิกรูปเพื่อขยาย

ได้รับมาตรฐาน ISO 9001

คลิกรูปเพื่อขยาย

หลักสูตรอบรม จป
หลักสูตรอบรม ความปลอดภัย

บริการตรวจรับรอง

บริษัท เซฟตี้ เมมเบอร์

เลขที่ 349 อาคารเอสเจ อินฟินิท วัน บิสซิเนส คอมเพล็กซ์ ชั้น 20 ห้องเลขที่ 2001-2005  ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

อีเมล
โทรศัพท์

คุณ แนน

เพิ่มเพื่อน

©2024 , A Media Company – All Right Reserved. Designed and Developed by safetymember safety member