บริการอบรม จป เทคนิค ออนไลน์ ลดสูงสุด 40%
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยฯ ระดับเทคนิคทำงานอะไร ทำไมต้องอบรม จป เทคนิค
บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการทำงานนั้นแต่ละระดับนั้นมีความแตกต่างกันออกไป แต่เจ้าหน้าที่ระดับเทคนิคต้องทำงานอะไร? กิจการอะไรบ้างที่ต้องมีเจ้าหน้าที่ระดับนี้? แล้วถ้าไม่อบรม จป เทคนิคได้หรือไม่ มาหาคำตอบกันได้ที่นี่เลย

อบรม จป เทคนิค ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของหลักสูตรอบรม จป เทคนิคของแต่ละหน่วยงานนั้นมีราคาไม่เท่ากัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ 2,500-3,250 บาท แต่อาจจะมากน้อยกว่านี้ได้ขึ้นอยู่กับโปรโมชั่นแต่ละช่วงเวลา อย่างไรก็ตามอย่าพิจารณาแค่ราคาเป็นสิ่งสำคัญ แต่ต้องดูด้วยว่าหน่วยงานที่จะอบรมนั้นได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการแล้วจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยฯ ทุกระดับชั้นมีความจำเป็นทั้งหมด เเพราะเป็นฟันเฟืองชิ้นสำคัญที่จะช่วยให้นายจ้างและสถานประกอบการสามารถดำเนินการไปได้อย่างปลอดภัยและอยู่ภายใต้มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อทุกฝ่ายทั้งนายจ้าง ลูกจ้างและตัวธุรกิจเอง ในส่วนของจป เทคนิค หากกิจการไหนเข้าข่ายต้องมี นายจ้างก็อย่าลืมสรรหาบุคลากรอย่างเหมาะสมและจัดให้มีการอบรม จป เทคนิคด้วย ทั้งนี้ต้องเลือกอบรมกับหน่วยงานที่ขออนุญาตจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงอย่างถูกต้องแล้วเท่านั้น

หลักสูตรอบรม จป เทคนิค
จป หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานนั้นมีทั้งหมด 5 ระดับ ได้แก่ ระดับบริหาร ระดับหัวหน้างาน ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงและระดับวิชาชีพ แต่ละระดับจะมีหน้าที่และขอบเขตการทำงานแตกต่างกัน ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงจป ระดับเทคนิคเป็นหลัก โดยทั่วไปแล้ว จป เทคนิคจะมีหน้าที่หลักคือตรวจสอบและเสนอแนะแนวทางให้นายจ้างหรือสถานประกอบกิจการดำเนินการภายใต้ความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด วิเคราะห์อันตรายจากการทำงานเพื่อหามาตรการรองรับและนำเสนอแผนต่อนายจ้าง ตรวจหาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ/การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากการทำงานและเสนอแนวทางแก้ไขให้นายจ้าง โดยรวมแล้วคือมีหน้าที่คอยตรวจสอบอันตรายและหาวิธีรับมือเพื่อแก้ไขหรือป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากการทำงานนั่นเอง
กิจการที่ต้องมีจป เทคนิคได้แก่โรงงาน คลังสินค้า ก่อสร้าง ซ่อมบำรุง ขนส่งคน/สินค้าและสถานีบริการน้ำมันที่มีจำนวนลูกจ้าง 20-49 คน สำหรับกิจการประเภท 3-14 ไม่จำเป็นต้องมีจป เทคนิค ทั้งนี้หากกิจการที่ทำเข้าข่ายต้องมีจป เทคนิค แต่นายจ้างสงสัยว่าถ้าไม่แต่งตั้งจป เทคนิคจะมีความผิดหรือไม่นั้น ต้องบอกว่าผิดกฎหมายพรบ.ความปลอดภัยฯ พ.ศ. 2554 มาตรา 56 ซึ่งหากนายจ้างไม่ปฏิบัติตาม จะมีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เพราะฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่ต้องสรรหาบุคลากรที่จะมอบหน้าที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยฯ โดยเมื่อคัดเลือกได้แล้วก็ต้องส่งบุคคลเหล่านั้นไปอบรม จป เทคนิคด้วยหลักสูตรและระยะอบรมตามกฎหมายกำหนด
องค์กรใดที่ควรตรวจสอบระบบดับเพลิง
อาคารและสถานประกอบการ 2 ชั้นขึ้นไป
ตามมาตรการของกฎกระทรวง ปี พ.ศ. 2555 ได้ระบุไว้ว่า อาคาร สำนักงาน บ้านเรือน ร้านค้าหรือสถานประกอบกิจการต่างๆ ในสถานที่มีความเสี่ยงและมี 2 ชั้นขึ้นไป ควรมีการระบบสัญญาณแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ อย่างน้อย 1 เครื่อง และระบบดับเพลิงในอาคาร โดยจะต้องมีการติดตั้งถังดับเพลิง 1 เครื่อง ขนาดไม่น้อยกว่า 4 กิโลกรัม ต่อ 1 ตารางเมตร (ควรมีมากกว่า 1 เครื่องในแต่ละชั้น) และต้องทำการตรวจสอบระบบดับเพลิงอยู่เสมอ
อาคารสูงเกิน 23 เมตร
คอนโดมิเนียม สำนักงาน และอาคารที่มีความสูงเกิน 23 เมตร และมีพื้นที่เกิน 10,000 ตารางเมตร กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ว่า ต้องมีการติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้และระบบดับเพลิงในอาคารในทุกๆ ชั้น โดยควรมีถังดับเพลิง 1 เครื่อง ขนาดไม่น้อยกว่า 4 กิโลกรัม ต่อ 1 ตารางเมตร และต้องมีการตรวจสอบระบบดับเพลิงให้มีความพร้อมต่อการใช้งานตลอดเวลา
โรงงานอุตสาหกรรม
ตามกฎหมายและกรมธรรม์การประกันภัยอัคคีภัย และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. 2552 ได้กำหนดให้ทุกโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีการตรวจสอบระบบดับเพลิงและระบบแจ้งเตือนเพลิงไหม้ให้มีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา และทุกๆ ปีจะต้องมีการจัดอบรมดับเพลิงให้กับพนักงาน รวมถึงดำเนินการซ้อมดับเพลิงและซ้อมแผนการอพยพเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้
รายการสำคัญในการตรวจสอบระบบดับเพลิง
ในการตรวจสอบระบบดับเพลิงทุกครั้ง นอกจากตรวจเช็คการทำงานของระบบแล้ว ยังต้องทำการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอีกด้วย โดยมีรายการสำคัญในการตรวจ ดังนี้
- ระบบท่อ วาล์ว และมาตรวัดผล
- หัวรับน้ำดับเพลิง และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
- ตรวจและทดสอบสายฉีดน้ำดับเพลิง
- ตรวจสอบอุณภูมิและความร้อนในระบบ
- ตรวจห้องเครื่องสูบน้ำดับเพลิง
- ตรวจสอบตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำดับเพลิง
- ตรวจสอบอุปกรณ์ต้นกำลังและชุดขับเคลื่อนระบบดับเพลิง
- ปั๊มรักษาความดันระบบดับเพลิง
ระบบดับเพลิงมีกี่ประเภท
ระบบดับเพลิงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
ระบบแมนนวล (Manual Operate)
คือระบบที่จะต้องใช้คนในการดำเนินการ ระบบจึงสามารถทำงานได้ เช่น ถังดับเพลิง สายฉีดน้ำดับเพลิงที่ติดตั้งอยู่ในตู้ดับเพลิง เป็นต้น

ระบบอัตโนมัติ (Automatic Operate)
คือระบบที่ออกแบบมาเพื่อรับมือกับเหตุเพลิงไหม้โดยอาศัยกลไลการทำงานของอุปกรณ์ และมีวัสดุดับเพลิงที่หลากหลาย เช่น ระบบหมอกน้ำ, ระบบแก๊ส, ระบบโฟมดับเพลิง และระบบสปริงเกอร์ เป็นต้น

ควรตรวจสอบระบบดับเพลิงเมื่อใดบ้าง
ตามมาตรฐานของสภาวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย การตรวจสอบระบบดับเพลิงมีรายการและระยะเวลากำหนดไว้ดังนี้
1. เครื่องสูบน้ำดับเพลิง
- ขับด้วยเครื่องยนต์ ทดสอบการเดินเครื่องทุกสัปดาห์
- ขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ทดสอบการเดินเครื่องทุกเดือน
- เครื่องสูบน้ำ ทดสอบปริมาณการสูบน้ำและความดันทุกปี
2. หัวรับน้ำดับเพลิง ตรวจสอบสภาพทุกเดือน
3. หัวดับเพลิงนอกอาคาร ต้องทำการตรวจสอบสภาพทุกเดือน บำรุงรักษาทุกครึ่งปี ทดสอบเปิด-ปิดทุกปี

4. ถังน้ำดับเพลิง
- ระดับน้ำ ควรตรวจสอบทุกเดือน
- สภาพถังน้ำ ตรวจสอบปีละ 2 ครั้ง
5. สายฉีดน้ำดับเพลิงและตู้เก็บสายฉีด (อุปกรณ์อื่นๆ ภายในตู้) ตรวจสอบเดือนละครั้ง
6. ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง
- Main drain ทดสอบการไหลทุกๆ 3 เดือน
- มาตรวัดความดัน ทดสอบค่าความดันทุก 5 ปี
- หัวกระจายน้ำดับเพลิง ทดสอบ ทุก 50 ปี
- สัญญาณวาล์ว ทดสอบการทำงานทุกๆ 3 เดือน
- สวิตช์ตรวจการไหลของน้ำ ทอสอบ 3 เดือนครั้ง
- ล้างท่อทุก 5 ปี
- วาล์วควบคุม ตรวจสอบชีลวาล์วทุกสับดาห์ ตรวจสอบอุปกรณ์ล็อกวาล์วและสวิทซ์สัญญาณปิด-เปิดวาล์วทุกเดือน
จป. เทคนิค
หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิค
หลักสูตร อบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยฯ ระดับเทคนิค (อบรม จป บริหาร)
หลักการและเหตุผล
สถิติการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม ปี ๒๕๖๐ พบว่า มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดอุบัติเหตุ จำนวน ๑๔๕ ครั้ง แบ่งได้เป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากอัคคีภัย จำนวน ๑๐๕ ครั้ง, การระเบิด จำนวน ๕ ครั้ง, สารเคมีรั่วไหล จำนวน ๑๕ ครั้ง, อุบัติเหตุเกี่ยวกับเครื่องจักร จำนวน ๑๔ ครั้งและ อื่นๆ จำนวน ๘ ครั้ง (กรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยกองส่งเสริมเทคโนโลยีความปลอดภัยโรงงาน, ๒๕๖๐) จากสถิติข้างต้นนี้กิจการหรือสถานประกอบกิจการ สามารถดำเนินการบริหารจัดการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ได้โดยนำหลักการหรือแนวทางมาตรฐานกฎหมายต่างๆเข้ามาดำเนินการ อาทิเช่น
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙ บังคับให้กิจการหรือสถานประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้
(๑) การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี
(๒) การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่ง ดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสีย หรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กำเนิดแปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น
(๓) การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง
(๔) การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า
(๕) สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
(๖) โรงแรม
(๗) ห้างสรรพสินค้า
(๘) สถานพยาบาล
(๙) สถาบันทางการเงิน
(๑๐) สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ
(๑๑) สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา
(๑๒) สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ
(๑๓) สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม (๑) ถึง (๑๒)
(๑๔) กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด
สถานประกอบกิจการตาม (๒) ถึง (๕) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 – 49 คน ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการ ทํางานระดับเทคนิคอย่างน้อย 1 คน ที่ผ่านการฝึกอบรม จป เทคนิคเพื่อปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง เว้นแต่มี เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพอยู่แล้ว
เพื่อปฏิบัติหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(๒) วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
(๓) แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ ๓
(๔) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(๕) รวบรวมสถิติ จัดทำรายงาน และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง
(๖) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย
ดังนั้นเพื่อดำเนินการให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค จะต้องมีคุณสมบัติเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า
(๒) เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างานและผ่านการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด
วัตถุประสงค์การอบรม จป เทคนิค
1) เพื่อให้กิจการหรือสถานประกอบกิจการปฏิบัติได้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด
2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในบทบาทหน้าที่ของตนตามที่กฎหมายกำหนด
3) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม
4) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถค้นหาอันตราย และพิจารณาหาแนวทางวิธีการควบคุม ป้องกันอันตรายได้อย่างเหมาะสม
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม จป เทคนิค
พนักงานระดับเทคนิค ที่มีผู้ใต้บังคับบัญชา ทำหน้าที่ควบคุม ดูแล บังคับบัญชา สั่งงาน ให้ลูกจ้างทำงานตามหน้าที่ในส่วนงานนั้น
จำนวนผู้เข้าอบรม/รุ่น จำนวน 1-60 ท่าน/รุ่น
วิธีการฝึกอบรม บรรยาย / กรณีศึกษา / ฝึกภาคปฏิบัติ
วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล
– ระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม 100% จำนวน 18 ชั่วโมง
– แบบทดสอบก่อน และหลังการฝึกอบรม
สิ่งที่จะได้รับหลังการอบรม วุฒิบัตรผ่านการอบรม