ผู้เฝ้าระวังไฟ (Fire Watch Man) และบทบาทสำคัญในการป้องกันไฟไหม้

by prawit
1.3K views
1 ผู้เฝ้าระวังไฟ 1000x667

หนึ่งในอุบัติเหตุภายในโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบกิจการต่าง ๆ ที่เรามักจะได้ยินอยู่บ่อย ๆ นั่นก็คือ อุบัติเหตุจากอัคคีภัยหรือไฟไหม้ ซึ่งมักจะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อทรัพย์สิน สุขภาพ หรือแม้กระทั่งรุนแรงถึงขั้นสูญเสียชีวิต ดังนั้นแล้ว ในอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบกิจการใดก็ตามที่มีลักษณะงานที่เสี่ยงต่อการเกิดประกายไฟและความร้อน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้เฝ้าระวังไฟ หรือ Fire  Watch Man

ผู้เฝ้าระวังไฟมีหน้าที่ตรวจสอบสถานที่ทำงาน ที่มีความเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัย

ผู้เฝ้าระวังไฟ (Fire  Watch Man) คือใคร ?

ผู้เฝ้าระวังไฟ (Fire  Watch Man) ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าคือผู้ที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังและตรวจสอบสถานที่ทำงานที่มีความเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัย เช่น งานตัด เชื่อม เจีย เจาะ ขุด ขัด และเผา รวมถึงการใช้เครื่องกลต่าง ๆ เพราะงานเหล่านี้อาจทำให้มีประกายไฟและความร้อน ที่สามารถลุกลามและก่อให้เกิดอัคคีภัยได้ ผู้เฝ้าระวังไฟจึงถือเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ และเมื่อได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เฝ้าระวังไฟแล้ว ก็จะต้องทำหน้าที่ดังกล่าวเพียงอย่างเดียวในช่วงสถานการณ์การทำงานที่มีความเสี่ยงในการเกิดประกายไฟและความร้อน ตั้งแต่เริ่มต้นจนแล้วเสร็จงาน

บุคคลที่จะรับหน้าที่เป็นผู้เฝ้าระวังไฟนั้นจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการวางแผนและป้องกันการเกิดเหตุไฟไหม้ รวมทั้งสามารถจัดการสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงทีหากมีไฟไหม้เกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องผ่านหลักสูตรการอบรมผู้เฝ้าระวังไฟ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในบทบาทของผู้เฝ้าระวังไฟ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งเป็นหน้าที่ของโรงงานหรือสถานประกอบกิจการที่ต้องจัดให้มีการอบรมหลักสูตรผู้เฝ้าระวังไฟให้กับพนักงาน

ผู้เฝ้าระวังไฟต้องผ่านการอบรมการใช้งาน อุปกรณ์ดับเพลิงและสามารถใช้งานได้

หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้เฝ้าระวังไฟ

บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เฝ้าระวังไฟโดยสังเขป มีดังนี้

  1. ผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้เฝ้าระวังไฟ หรือ Fire Watch Man จะต้องได้รับการอบรมเพื่อให้เข้าใจอันตรายที่แท้จริงของสถานที่ทำงานและงานที่ก่อให้เกิดประกายไฟและความร้อน หรืองาน Hot Work
  2. ผู้เฝ้าระวังไฟจะต้องมีความมั่นใจว่ารักษาสภาพการณ์ที่ปลอดภัยในระหว่างที่ดำเนินงาน Hot Work
  3. ผู้เฝ้าระวังไฟได้รับอนุญาตให้หยุดการทำงาน เมื่อเกิดสภาพการทำงาน ที่ไม่ปลอดภัย
  4. จะต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิงที่พร้อมสำหรับใช้งานหากเกิดเหตุฉุกเฉิน และผู้เฝ้าระวังไฟต้องผ่านการอบรมการใช้งานอุปกรณ์ดับเพลิงและสามารถใช้งานได้
  5. ผู้เฝ้าระวังไฟควรจะต้องทำความคุ้นเคยกับสถานที่และวิธีปฏิบัติเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณกรณีเกิดเหตุไฟไหม้
  6. ต้องคอยเฝ้าระวังการเกิดไฟไหม้ในพื้นที่ทั้งหมดของงานที่ก่อให้เกิดประกายไฟและความร้อน หรืองาน Hot Work
  7. พยายามดับเพลิงภายใต้ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ดับเพลิงนั้น ๆ
  8. ผู้เฝ้าระวังไฟจะต้องมีวิธีการสื่อสารกับแต่ละส่วนงาน และติดต่อผู้รับผิดชอบในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
  9. ทำหน้าที่กดสัญญาณแจ้งเหตุไฟไหม้ทันที กรณีเพลิงลุกไหม้จนเกินความสามารถของอุปกรณ์ดับเพลิงที่มี
  10. ผู้เฝ้าระวังไฟต้องมีวิธีการในการอพยพออกจากอาคาร เช่น แตรหรือดึงเพื่อเปิดใช้งานสัญญาณเตือนไฟไหม้ในอาคาร
  11. ปฏิบัติหน้าที่อื่นเท่าที่จำเป็น แต่ต้องไม่ละทิ้งในขณะที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังไฟ

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานประกอบกิจการ

องค์กรใดบ้างที่จำเป็นต้องมีผู้เฝ้าระวังไฟ

ตามที่กล่าวไปแล้วในข้างต้นว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบกิจการคือ อุบัติเหตุจากอัคคีภัยหรือไฟไหม้ ซึ่งโรงงานหรือสถานประกอบกิจการใดก็ตามที่มีลักษณะงานที่ก่อให้เกิดประกายไฟ และความร้อน หรืองาน Hot work จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้เฝ้าระวังไฟ หรือ Fire watch man ตลอดจนอุตสาหกรรมด้านน้ำมัน และก๊าซ ก็นับว่าจะต้องมีผู้เฝ้าระวังไฟ เพื่อคอยดูแลและป้องกันการเกิดไฟไหม้ ลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ทำงาน

บริการแนะนำ

บริษัท เซฟตี้ เมมเบอร์

เลขที่ 349 อาคารเอสเจ อินฟินิท วัน บิสซิเนส คอมเพล็กซ์ ชั้น 20 ห้องเลขที่ 2001-2005  ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

อีเมล
โทรศัพท์

คุณ แนน

เพิ่มเพื่อน

©2025 SAFETYMEMBER. Developed website and SEO by iPLANDIT