เตรียมพร้อมก่อนประชุม คปอ. ประจำเดือน วาระสำคัญและหน้าที่ที่ต้องรู้

by pam
10 views
เตรียมพร้อมก่อนประชุม คปอ

คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “คปอ.” มีบทบาทสำคัญในการดูแลความปลอดภัยของพนักงานภายในองค์กร โดยเฉพาะการประชุมประจำเดือนอย่างน้อย 1 ครั้งซึ่ง เพื่อรับฟังปัญหา เสนอแนะแนวทางแก้ไข และผลักดันการปรับปรุงด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง

ทำไมการประชุม คปอ. ประจำเดือนจึงสำคัญ?

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 กำหนดให้นายจ้างต้องแต่งตั้งคณะกรรมการ คปอ. และมีการประชุมประจำเดือนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อ

  • ติดตามผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัย

  • วิเคราะห์และหาทางป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำ

  • ส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง

รู้หรือไม่? องค์กรที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไปตามกฎหมายแรงงาน ต้องจัดให้มี คปอ. พร้อมส่งเข้าอบรม คปอ เพื่อที่สามารถนำใบเซอร์ขึ้นทะเบียน คปอ หากละเลยอาจมีโทษปรับสูงถึง 200,000 บาท

วิธีการเตรียมตัวก่อนประชุม คปอ. ประจำเดือน

วิธีการเตรียมตัวก่อนประชุม คปอ. ประจำเดือน

การประชุมจะได้ผลลัพธ์อย่างมีคุณภาพ ต้องเริ่มจากการเตรียมตัวที่ดี โดยสามารถแบ่งการเตรียมออกเป็น 3 ส่วนหลัก ดังนี้

1. ด้านเอกสารและข้อมูล

เลขานุการ คปอ. และฝ่ายความปลอดภัยควรเตรียม:

  • เอกสารบันทึกการประชุมครั้งก่อน

  • รายงานการตรวจสอบความปลอดภัย และผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

  • สถิติการประสบอันตราย อุบัติเหตุ หรือโรคจากการทำงาน

  • รายงานข้อเสนอแนะจากลูกจ้างหรือหน่วยงานภายนอก (ถ้ามี)

  • วาระการประชุมล่วงหน้าเพื่อให้กรรมการทราบประเด็นสำคัญ

2. ด้านสถานที่และอุปกรณ์

  • ตรวจสอบความพร้อมของห้องประชุม เช่น ความสะอาด โต๊ะ เก้าอี้ เพียงพอ

  • เตรียมอุปกรณ์นำเสนอ เช่น โปรเจกเตอร์ กระดานไวท์บอร์ด เอกสารแจก

  • สำหรับการประชุมออนไลน์ ควรเตรียมระบบซอฟต์แวร์และตรวจสอบสัญญาณอินเทอร์เน็ต

3. ด้านผู้เข้าร่วมประชุม

  • แจ้งกำหนดการประชุมล่วงหน้าแก่กรรมการทุกคน

  • ยืนยันรายชื่อผู้เข้าร่วมและการแต่งตั้งผู้แทน (หากมีการเปลี่ยนแปลง)

  • กระตุ้นให้กรรมการเตรียมข้อเสนอหรือหัวข้อที่ต้องการเสนอในที่ประชุม

ในการประชุม คปอ. หากกรรมการขาดประชุมบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผล อาจถือว่า ขาดคุณสมบัติและต้องเปลี่ยนตัวแทนใหม่ ตามระเบียบของสถานประกอบกิจการ

วาระการประชุมคปอ. มีอะไรบ้าง

วาระการประชุมคปอ. มีอะไรบ้าง และความเชื่อมโยงกับหน้าที่ตามกฎหมาย

ในการประชุม คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) ซึ่งมักจัดขึ้นเป็นประจำทุกเดือนนั้น ไม่เพียงแต่เป็นการประชุมเพื่อพูดคุยประเด็นด้านความปลอดภัยทั่วไป แต่ยังเป็นช่องทางสำคัญในการดำเนินงานตาม 12 หน้าที่หลักของ คปอ. ที่กำหนดไว้ตาม กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานฯ พ.ศ. 2565 อีกด้วย

โดยการประชุมคปอ. ควรมีการจัดลำดับวาระอย่างชัดเจน เพื่อให้การประชุมดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถติดตามความคืบหน้าของงานด้านความปลอดภัยได้ครบถ้วน โดยทั่วไปวาระการประชุมจะประกอบไปด้วย 5 หัวข้อหลัก ดังนี้:

✅ วาระที่ 1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

ใช้สำหรับแจ้งข้อมูลสำคัญให้คณะกรรมการทราบ เช่น

  • สถิติอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ด้านความปลอดภัย

  • ข่าวสารจากราชการหรือหน่วยงานรัฐ เช่น กฎหมายใหม่ ประกาศกรมสวัสดิการฯ

  • กิจกรรมความปลอดภัยที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น วันความปลอดภัยฯ

เชื่อมโยงกับหน้าที่ ข้อที่ 6 และ 12 คือการรวบรวมข้อมูล สถิติ และรายงานประจำ

✅ วาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา

เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของรายงานการประชุมครั้งก่อน และยืนยันผลการประชุมอย่างเป็นทางการ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปดำเนินงานต่อได้อย่างถูกต้อง

 เชื่อมโยงกับหน้าที่ ข้อที่ 9 และ 10 ที่ต้องมีการติดตามและรายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารทราบ

✅ วาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่ผ่านมา

ใช้สำหรับติดตามเรื่องที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จในครั้งก่อน เช่น

  • โครงการอบรมที่อยู่ระหว่างการอนุมัติ

  • มาตรการป้องกันอุบัติเหตุที่อยู่ในขั้นตอนดำเนินการ

  • การตอบรับจากนายจ้างในประเด็นที่เสนอไปแล้ว

เชื่อมโยงกับหน้าที่ ข้อที่ 3, 4, 7 และ 9 โดยเฉพาะการติดตามผลมาตรการและโครงการต่าง ๆ

✅ วาระที่ 4 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

เป็นวาระที่เปิดให้กรรมการเสนอแนวคิด โครงการ หรือมาตรการใหม่ ๆ อาทิ

  • เสนอจัดฝึกอบรมพนักงานใหม่เรื่องความปลอดภัย

  • เสนอคู่มือความปลอดภัยฉบับใหม่

  • เสนอมาตรการปรับปรุงพื้นที่ทำงานที่มีความเสี่ยงสูง

เชื่อมโยงกับหน้าที่ ข้อที่ 1, 2, 5, 7 และ 11 เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของ คปอ. ในการเสนอนโยบายหรือแผนงานต่าง ๆ

✅ วาระที่ 5 เรื่องอื่น ๆ

สำหรับเรื่องที่ไม่ได้อยู่ใน 4 วาระก่อนหน้า เช่น

  • ปัญหาเฉพาะหน้าในแผนกงาน

  • คำร้องเรียนของพนักงาน

  • ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสวัสดิการหรือสิ่งแวดล้อมในการทำงาน

เชื่อมโยงกับหน้าที่ ข้อที่ 8 และ 12 โดยเฉพาะการรับรายงานสภาพไม่ปลอดภัยจากลูกจ้าง

12 หน้าที่คปอ

นอกจากการประชุมประจำเดือน คปอ. ยังมีอีก 12 หน้าที่ที่ต้องดำเนินการ

ตาม กฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2565 คณะกรรมการ คปอ. มีหน้าที่ที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมนอกเหนือจากการประชุม ซึ่งสามารถสรุปได้ 12 ข้อหลัก ๆ ดังนี้:

  1. จัดทำนโยบายด้านความปลอดภัย เพื่อเสนอต่อนายจ้าง

  2. วางแนวทางป้องกันและลดความเสี่ยงในการทำงาน

  3. รายงานและเสนอมาตรการปรับปรุงสภาพการทำงาน ตามกฎหมาย

  4. สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมด้านความปลอดภัย ในสถานประกอบกิจการ

  5. พิจารณาและเสนอแนะเกี่ยวกับคู่มือความปลอดภัย

  6. สำรวจการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย และสถิติอุบัติเหตุ

  7. พิจารณาแผนฝึกอบรมความปลอดภัย เพื่อเสนอต่อนายจ้าง

  8. จัดระบบให้ลูกจ้างสามารถรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยได้

  9. ติดตามผลการดำเนินงาน และรายงานต่อนายจ้าง

  10. เก็บข้อมูลและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี พร้อมเสนอแนะ

  11. ประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการ

  12. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่นายจ้างมอบหมาย เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัย

สรุป

การประชุม คปอ. ไม่ใช่เพียงพิธีกรรมรายเดือน แต่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน นโยบายและมาตรการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งคณะกรรมการ นายจ้าง และพนักงาน พร้อมกับการดำเนินงานตามหน้าที่ 12 ข้อที่กฎหมายกำหนด เพื่อสร้างสถานที่ทำงานที่ปลอดภัย  ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือ และเตรียมตัวอย่างเหมาะสม

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายนายจ้าง จป. หัวหน้างาน ตัวแทนลูกจ้าง  คปอ. ทุกคนล้วนมีบทบาทสำคัญในการทำให้การประชุมประจำเดือนนี้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร

หากคุณต้องการอบรม คปอ.  ที่ Safetymember ได้รับอนุญาตจัดอบรมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมให้บริการอบรมทั้งรูปแบบ อินเฮ้าส์ และบุคคลทั่วไป สอนโดยทีมวิทยากรผู้มีใบอนุญาตและประสบการณ์จริง พร้อมให้คำปรึกษาแบบเป็นกันเอง

ติดต่อสอบถาม / ขอใบเสนอราคา
📞 โทร: (064) 958 7451 (คุณแนน)
📧 อีเมล: Sale@safetymember.net
🌐 เว็บไซต์: www.safetymember.net/safety-committee-course


แหล่งอ้างอิง

  1. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2566). แนวทางการจัดตั้งและดำเนินงาน คปอ.

  2. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

  3. ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดตั้งคณะกรรมการ คปอ. และหน้าที่ของคณะกรรมการ คปอ. (ฉบับปรับปรุงล่าสุด)


บทความที่น่าสนใจ

บทความน่าสนใจ

ใบอนุญาตกรมสวัสดิการฯ

คลิกรูปเพื่อขยาย

ได้รับมาตรฐาน ISO 9001

คลิกรูปเพื่อขยาย

บริษัท เซฟตี้ เมมเบอร์

เลขที่ 349 อาคารเอสเจ อินฟินิท วัน บิสซิเนส คอมเพล็กซ์ ชั้น 20 ห้องเลขที่ 2001-2005  ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

อีเมล
โทรศัพท์

คุณ แนน

เพิ่มเพื่อน

©2025 SAFETYMEMBER. Developed website and SEO by iPLANDIT