อบรม จป หลักสูตรการอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
ปัจจุบันนี้มีงานหลากหลายประเภทที่มีความเสี่ยงในการทำงาน แน่นอนว่ามีทั้งเสี่ยงน้อยและมาก แต่ยิ่งจำนวนลูกจ้างเยอะมากขึ้น ความเสี่ยงก็มักเพิ่มขึ้นตามเช่นเดียวกันหากงานนั้นมีอันตรายอยู่ก่อนแล้ว เพราะฉะนั้นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการทำงานจึงเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญต่อองค์กรมาก ดังนั้นเมื่อแต่งตั้งหรือคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามารับตำแหน่งนี้แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือส่งบุคลากรเหล่านั้นไปอบรม จปเพื่อเตรียมทักษะความรู้ต่างๆให้พร้อมต่อการทำงาน ว่าแต่การอบรมจป สำคัญอย่างไรและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยฯนี้มีบทบาทหน้าที่อย่างไรบ้าง

อบรม จป สำคัญอย่างไร
จป หมายถึงเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งตามมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ที่ประกาศจากกระทรวงกำหนดให้จป หรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยฯ มีอยู่ด้วยกัน 5 ระดับได้แก่
- เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยฯ ระดับบริหาร
- เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยฯ ระดับหัวหน้างาน
- เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยฯ ระดับเทคนิค
- เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยฯ ระดับเทคนิคขั้นสูง
- เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยฯ ระดับวิชาชีพ
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยฯ ระดับไหน เมื่อมีการคัดเลือกแล้ว นายจ้างจะต้องส่งบุคคลที่ผ่านการคัดเลือกเข้าไปอบรม จป ด้วยหลักสูตรและระยะเวลาการอบรมตามที่กฎหมายกำหนด ภายใน 15 วันนับจากแต่งตั้ง โดยการอบรมจะช่วยให้จป เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของตัวเองว่าจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อลดความเสี่ยงและอันตรายจากการทำงาน ทั้งนี้จป แต่ละระดับจะมีหน้าที่และขอบเขตการทำงานที่แตกต่างกัน แต่โดยรวมจะมีหน้าที่หลักประมาณ 10 ข้อ ดังต่อไปนี้
- ตรวจสอบและแนะนำนายจ้างให้ปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน
- วิเคราะห์หาอันตรายจากการทำงาน หามาตรการรับมือจากอันตรายโดยทำเป็นแผนนำเสนอนายจ้าง
- ประเมินความเสี่ยงความปลอดภัยในการทำงาน
- นำเสนอแผนงานด้านความปลอดภัยและผลกระทบแบบครบวงจรให้นายจ้าง
- ตรวจประเมินความเสี่ยงและความปลอดภัยในสถานประกอบการ
- อบความปลอดภัยให้แก่พนักงานทั้งหมด เพื่อให้ปฏิบัติงานภายใต้มาตรฐานความปลอดภัย
- ประเมินสถานที่ทำงาน สภาพแวดล้อมสถานประกอบการและเอกสารดูแลความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
- เมื่อเกิดอุบัติเหตุ/อันตราย/การเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงาน ต้องรีบประเมินปัญหา หาวิธีป้องกันและนำเสนอแผนงานนั้นให้แก่หน่วยงานโดยเร็ว เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายนั่นเอง
- เก็บสถิติ รวบรวมข้อมูล ประเมินปัญหาและวางแผนเพื่อพัฒนามาตรการรองรับให้รัดกุมมากขึ้น โดยจะต้องเสนอข้อมูลทั้งหมดให้แก่นายจ้าง ทั้งหมดนี้ทำเพื่อลดความเสี่ยงและความสูญเสียให้ได้มากที่สุด
- ปฏิบัติงานความปลอดภัยด้านอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย
ความปลอดภัยในสถานประกอบการนั้นเป็นสิ่งที่นายจ้างต้องไม่มองข้าม ซึ่งบุคลากรสำคัญที่คอยสอดส่องดูแลและรักษาความปลอดภัยในสถานประกอบการก็คือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยฯหรือจป.นั่นเอง ดังนั้นนายจ้างต้องแต่งตั้งจป.เหล่านี้และส่งไปอบรม จป กันให้เรียบร้อยเพื่อให้พร้อมกลับมาดูแลและเสนอแนะให้สถานประกอบการปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยอยู่เสมอนั่นเอง